เมนู

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ปฏิสนธิ ฯลฯ
5. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
6. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุ
ปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[465] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 2)

เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 3)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์
ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
4. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณา
ซึ่งกุศลกรรมนั้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-
ธรรม พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตต-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ.
รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่
อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
5. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ
บุคคลพิจารณาซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญ-
ชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
ปรารภซึ่งจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
6. สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชน-
วิปปยุตตธรรม และโมหะ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
ย่อมเกิดขึ้น.

7. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตต-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 8)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.
พึงกระทำมูล (วาระที่ 9)
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์
ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[466] 1. สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชน-
สัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำราคะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.